รายละเอียดบทคัดย่อ


 . การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างจังหวัดบุรีรัมย์ และอุบลราชธานี.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.488-497.

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลการใช้เทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรและปัจจัยที่มีผลต่อการนำเทคโนโลยีการผลิตยางพาราตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรไปปฏิบัติ ศึกษาโดยการสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์และอุบลราชธานี ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2554 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจังหวัดละ 500 ราย แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลโดยสถิติ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย ระบุว่า เกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์ปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักวิชาการมากกว่าเกษตรกรจังหวัดอุบลราชธานี ในเรื่องการใส่ปุ๋ยก่อนเปิดกรีด ระดับความสูงที่เปิดกรีด และขนาดของต้นที่กรีด ซึ่งจะทำให้เกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์สามารถกรีดยางได้นานกว่าจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากจังหวัดบุรีรัมย์มีสถานีทดลองยาง และศูนย์เรียนรู้ยางพาราโดยมีส่วนร่วมของเกษตรกรมาก่อนจังหวัดอุบลราชธานี ในขณะที่อายุการกรีดยาง พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ของทั้ง 2 จังหวัด กรีดยางก่อนกำหนด (อายุน้อยกว่า 7 ปี) เนื่องมาจากราคาที่สูงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรรีบกรีดยางปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม การขาดความรู้ ความเข้าใจในการปลูกและจัดการสวนยางพาราที่ถูกต้องและเหมาะสมทำให้เกษตรกรส่วนหนึ่งเปิดกรีดยางก่อนกำหนด ซึ่งต้นยางมีขนาดเล็กกว่ามาตรฐานดังนั้น ข้อมูลที่ได้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนางานวิจัย การวางแผน การบริหารจัดการ ตลอดจนใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางของกรมวิชาการเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป