รายละเอียดบทคัดย่อ


 . ศักยภาพของแม่ปุ๋ยบางชนิดต่อการยับยั้งและป้องกันการเกิดโรครากขาวของยางพาราสาเหตุจากเชื้อรา Rigidoporus microporusในยางปลูกใหม่.  ใน: รายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 :ระบบเกษตรไทยใต้ร่มพระบารมี เพื่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน . ระหว่างวันที่ 8-10 สิงกาคม 2554 ณ โรงแรมตักสิลา มหาสารคาม.  น.510-519.

บทคัดย่อ

         โรครากขาวเป็นโรคที่เกิดกับระบบราก และมีความสัมพันธ์กับปัจจัยดิน ดังนั้นการจัดการดินจึงเป็นมาตรการที่สำคัญที่มีผลต่อการป้องกันกำจัดโรคราก การศึกษาศักยภาพของแม่ปุ๋ยบางชนิดต่อการยับยั้งและป้องกันการเกิดโรครากขาวของยางพาราสาเหตุจากเชื้อรา Rigidoporus microporusในยางปลูกใหม่เพื่อพัฒนาอัตราการใช้และวิธีการที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในสภาพแปลงปลูกต่อไปโดยศึกษาพัฒนาการใช้ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต ซิลิกอนผง และ กำมะถันผง(80%)เป็นตัวเปรียบเทียบ โดยทดสอบทั้งในสภาพเรือนทดลองและในแลงยางที่เป็นโรครากขาวรุนแรง ผลการทดลองในเรือนทดลองพบว่า ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต และซิลิกอนผง ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรครากขาว ในขณะที่ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต กำมะถัน อัตรา 0.25-1.0% และปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟตอัตรา 1.0% สามารถกำจัดเชื้อราและป้องกันการเป็นโรคของต้นยางได้ จึงได้ศึกษาพัฒนาการใช้ในแปลงปลูกยางที่มีโรครากขาว ผลปรากฏว่า ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต และปุ๋ยยูเรีย อัตรา 100, 200 และ 300กรัม/หลุมปลูก มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อราโรครากขาวของยางพาราปลูกใหม่สามารถป้องกันการติดเชื้อราโรครากได้ 92-100% ซึ่งแตกต่างจากกรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ส่วนปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟตทุกอัตราพบว่าไม่มีประสิทธิภาพ แต่ปุ๋ยยูเรีย และกำมะถันมีความเสี่ยงต่อการเป็นพิษกับต้นยางหากผสมดินและปลูกยางทันที