แนะนำ ศวทก
วิสัยทัศน์
ระบบเกษตรยั่งยืน
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ระบบธุรกิจเกษตร
หน่วยสนับสนุนงานวิจัย
ผลงานวิจัย
งานบริการวิชาการ
เกษตรศาสตร์เชิงระบบ
สารสนเทศภายใน
ระบบบริการศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร
สถานีวิจัยระบบทรัพยากรเกษตร
สัมมนาวิชาการ ศวทก.
   

เว็บไซต์เชื่อมโยง :
เครือข่ายระบบเกษตร
เครือข่ายเกษตรยั่งยืน
เครือข่ายธุรกิจเกษตร
รวมเว็บสัมนาวิชาการ
   


update

ประชุมสัมมนาวิชาการ

ASIMMOD2007
 

แนวปฏิบัติด้านการสนับสนุนการเรียนการสอน


     
 


           
หลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาเกษตรศาสตร์เชิงระบบได้เกิดขึ้นจากกลุ่มคณาจารย์ที่ร่วมงานวิจัยเชิง ระบบในศูนย์วิจัยซึ่งมองเห็นความสำคัญของการใช้แนวทางเชิงระบบเพื่อการศึกษาและพัฒนา โดยจัด เป็น Programme ซึ่งยังไม่มีที่ใดจัดหลักสูตรดังกล่าวมาก่อน นอกจากนี้มองเห็นว่าการนำเอาหลักสูตรเข้า มาผูกกับการวิจัยจะทำให้ความเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยของศูนย์วิจัยมีเป้าหมายและมีความต่อเนื่องมาก ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการพัฒนาองค์ความรู้และวิธีการใหม่ ๆ เนื่องจากความเป็นมาของหลักสูตรและหน้าที่ ของศูนย์วิจัยในด้านงานวิจัยมีความผสมกลมกลืนและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ศูนย์วิจัยจึงทำหน้าที่ สนับสนุนโปรแกรมการศึกษา โดยช่วยจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรดังกล่าวด้วย

           หลักสูตรได้ร่างขึ้นโดยกลุ่มคณาจารย์ที่ทำงานในศูนย์วิจัย โครงร่างหลักสูตรได้ผ่านการกลั่นกรอง จากคณาจารย์ในคณะเกษตรศาสตร์ และศูนย์วิจัยได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจาก หน่วยงานภายนอกและต่างประเทศ 10 คน ก่อนที่จะเสนอให้ทบวงมหาวิทยาลัยตรวจสอบ หลักสูตรฯได้ เปิดสอนเป็นภาษาไทยในปีการศึกษา 2527 จนถึง 2529 ได้มีการทบทวนเพื่อเตรียมสอนเป็นภาษา อังกฤษในปี 2530 และเปิดรับนักศึกษาต่างชาติในปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา หลักสูตรฯได้มีการทบ ทวนในปี 2537 เพื่อปรับปรุงสาระและสร้างกระบวนวิชาด้านวนเกษตรเพิ่มเติม และในปีการศึกษา 2541 ได้เพิ่มกระบวนวิชาธุรกิจเกษตรขึ้นในหลักสูตร

8. ทบทวนและปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการสอนหลักสูตรมหาบัณฑิตเกษตรศาสตร์เชิงระบบ ให้ทันสมัยเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ประเด็นปัญหาใหม่และความ ต้องการของสังคม

  • ปรับปรุงกระบวนวิชาแกนให้มีแนวคิดเชิงระบบ วิธีการและเครื่องมือเชิงระบบ และมิติทาง สังคมให้มากยิ่งขึ้น
  • ปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นสูง โดยอาจยุบ Option และจัดกระบวนวิชา แกนใหม่
  • สร้างกระบวนวิชา Managing Agricultural Systems Internship เพื่อให้นักศึกษาเพิ่มประสบ การณ์ทำโครงงานร่วมกันโดยอาศัยองค์ความรู้เชิงระบบ
  • เพิ่มหรือปรับกระบวนวิชาเรียนให้ครอบคลุมความต้องการของผู้จ้างงานทางเกษตรให้มากขึ้น เช่น ธุรกิจเกษตร การวางแผนและการจัดการทางเกษตร ? สนับสนุนให้เปิดหลักสูตรที่ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ (แผน ข)
  • ให้ความสำคัญกับวิธีการสอนในลักษณะการให้คำปรึกษาและชี้แนะให้มากขึ้น

9. ขยายขอบเขตการศึกษาปริญญาโทเกษตรศาสตร์เชิงระบบไปสู่ปริญญาเอกเกษตรศาสตร์ เชิงระบบเพื่อสร้างนักวิจัยเชิงระบบที่มีคุณภาพ

  • เสนอให้กรรมการบริหารหลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบพิจารณาความเป็นไปได้ของ หลักสูตร
  • จัดทำหลักสูตรให้ทันในแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8

 




วิสัยทัศน์
วัตถุประสงค์
แนวทางปฏิบัติ

  ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000   http://www.mcc.cmu.ac.th .
 ปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ.2550