เรื่อง : การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระบบปลูกข้าวประณีต (SRI) 
 
ผู้รับบริการ : กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์กรพัฒนาเอกชน (ประเทศไทย ลาว พม่า และ กัมพูชา) จำนวนทั้งสิ้น 25 คน
วันและเวลา : วันีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 เวลา 9.00 - 12.00 น.
สถานที่จัด : ห้องประชุม นคร ณ ลำปาง อาคารศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
ที่มาและความสำคัญ :

สืบเนื่องจากระบบการปลูกข้าวได้มีการพัฒนาและมีการปรับใช้ในหลายประเทศ โดยเริ่มมาจากมาดากาสก้า ในประเทศอัฟริกา ต่อมาได้ขยายผลในหลายประเทศรวมถึง ประเทศในทวีปเอเชีย ประเทศกัมพูชาถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนในการปลูกข้าวแบบประณีตทั้งโดยองค์กรพัฒนาเอกชน และสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งระบบข้าวแบบประณีตนี้ให้ผลผลิตดีกว่าระบบการผลิตแบบดั่งเดิม อย่างไรก็ตามประเทศไทย ถือว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีการผลิตแบบประณีต โดยได้รับการสนับสนุนโดยองค์กรพัฒนาเอกชน แต่ผลผลิตไม่แตกต่างจากระบบดั่งเดิม ถึงเพิ่มแต่ไม่แตกต่างอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามพบว่าเป็นระบบที่เหมาะกับข้าวพันธุ์พื้นเมือง อายุกล้าอ่อนเหมาะสมกับระบบนี้ เจริญเติบโตภายใต้ความอุดมสมบูรณ์ดินที่ดี โดยเฉพาะที่มีการจัดการปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก แต่ปัญหาด้านการจัดการวัชพืชยังเป็นปัญหาหลักภายใต้ระบบการปลูกข้าวแบบประณีต ทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือเพื่อควบคุมวัชพืช
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นของของกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มนักวิจัยข้าวแบบประณีตทั้งไทยและต่างประเทศ โดยการประมวลภาพรวมและผลการดำเนินการข้าวแบบประณีตทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะสำคัญต่อการผลิตแบบประณีต

 
ผลสรุป : (106 kb)
 
ภาพกิจกรรม :
 
 
ผลประเมิน : -