แผนกลยุทธ์ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (พ.ศ. 2541-2550)

คำนำ

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรทำงานด้านการวิจัยและการศึกษา จัดตั้งขึ้นตามมติคณะ รัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2511 โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าของโครงการ และคณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2512 คณะรัฐมนตรีได้ มีมติให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าของโครงการแทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

การดำเนินงานของ ศูนย์วิจัยในระยะที่ผ่านมาได้เน้นการใช้แนวทางเชิงระบบในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเกษตร พัฒนาองค์ ความรู้และวิธีการวิเคราะห์ปัญหาการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของประเทศและของ ภูมิภาค ในปัจจุบันศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นที่ยอมรับของประเทศและนานาประเทศโดยประสบความสำเร็จใน การสร้างทีมงานโดยใช้การประสานสัมพันธ์ของนักวิชาการในกลุ่มวิทยาศาสตร์ธรรมชาติต่างสาขาและ กลุ่มสังคมศาสตร์ ศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นผู้ริเริ่มงานวิจัยและพัฒนาที่สำคัญขึ้นหลายเรื่อง จนกล่าวได้ว่าเป็น เจ้าของความคิดและเจ้าของผลงาน (Authorities) ในหลายเรื่อง เช่น งานวิจัยระบบการปลูกพืช งานวิจัยระบบเกษตร นอกจากนี้ยังได้ดำเนินงานเกี่ยวกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสาร สนเทศ เช่น ข้อมูลระยะไกล ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และการวิจัยระบบเกษตรยั่งยืน ศูนย์วิจัยได้ใช้ผลงานวิจัยตลอดจนแนวคิดเชิงระบบจัดทำเป็นหลักสูตรปริญญาโทสาขา เกษตรศาสตร์เชิงระบบขึ้นในปี พ.ศ. 2527 และต่อมาเปลี่ยนเป็นหลักสูตรนานาชาติเพื่อสอนนักศึกษาไทย และนักศึกษาของประเทศที่กำลังพัฒนา

ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ ศูนย์วิจัยได้ให้ คำปรึกษาและจัดฝึกอบรมในเรื่องที่เชี่ยวชาญแก่นักวิชาการ นักพัฒนา นักส่งเสริม และเกษตรกรทั้งใน ประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ในด้านการแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและองค์กรทั้งใน ประเทศและต่างประเทศได้ดำเนินการอย่างใกล้ชิดและเป็นเครือข่าย

ตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยได้ทบทวนและปรับแนวทางการดำเนินงานมาเป็น ระยะ ๆ โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของประเทศเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ปัญหาการเกษตรและสภาพแวดล้อมภายนอกอื่น ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ในขณะเดียวกันพัฒนาการ ของศูนย์วิจัยได้เปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน ทำให้ต้องมาตั้งหลักโดยเชิญชวนนักวิจัยและผู้สนับสนุนงาน วิจัยมาช่วยกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในเพื่อจะใช้เป็นกรอบในการจัด ทำแผนพัฒนาระยะยาวเชิงกลยุทธ์ 10 ปีข้างหน้า ดังปรากฏในรายงานฉบับนี้


 

 

 

วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วัตถุประสงค์ (Objectives)
แนวทางปฏิบัติ

 
 
  ภาคผนวก
 
  • สภาพแวดล้อมที่กำหนดการดำเนินงานของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร
  • การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาศและอุปสรรค
  • ข้อเสนอแนะการจัดทำแผนระยะยาว
  • ประวัติและพัฒนาการโดยย่อของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร
  • กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร
  • รายชื่อคณะทำงานจัดทำแผนกลยุทธ์
 
Download full paper in PDF format

| หน้าหลัก ศวพก.| วิสัยทัศน์ ศวพก .| ระบบเกษตรยั่งยืน |ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตร | ระบบธุรกิจเกษตร |
หลักสูตรเกษตรศาสตร์เชิงระบบ | เครือข่ายระบบเกษตร | สิ่งตีพิมพ์ |