แนวปฏิบัติ


เพื่อให้จุดหมาย (Goals) ที่กำหนดขึ้นตามพันธกิจจำนวน 20 ข้อ มีแนวทางนำไปสู่การปฏิบัติได้ คณะทำงานจัดทำแผนระยะยาว 10 ปีของศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ จุดหมายแต่ละข้อดังนี้

แนวปฏิบัติด้านการวิจัย

พัฒนาการงานวิจัยระบบเกษตรของศูนย์วิจัยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยคณะวิจัยซึ่งประกอบ ด้วยนักวิชาการและคณาจารย์จากหลายสาขาเป็นแกน โดยเริ่มงานวิจัยระบบพืชในพื้นที่รับน้ำชลประทาน งานวิจัยระบบฟาร์ม และงานวิจัยระบบเกษตร มีกิจกรรมวิจัยครอบคลุมพื้นที่ราบลุ่มที่ดอนอาศัยน้ำฝน และพื้นที่สูง โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ เกษตรกรรายย่อย นักวิชาการ นักส่งเสริม นักพัฒนา และผู้รับ ผิดชอบในการวางแผน งานวิจัยเน้นการแก้ไขปัญหาการผลิตที่ระดับแปลง ระดับครัวเรือน ต่อมาได้มีการ พัฒนาเครื่องมือการวิเคราะห์โดยปรับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อ การวางแผนและพัฒนาเกษตร ซึ่งทำให้ขยายกระบวนการศึกษาถึงระดับลุ่มน้ำ โดยเชื่อมโยงข้อมูลและผล การศึกษาระดับแปลงถึงระดับที่สูงกว่าได้ ทำให้การวางแผนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการ เกษตรที่ระดับลุ่มน้ำและระดับจังหวัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบันกลุ่มงานวิจัยหลักของศูนย์วิจัย ประกอบด้วย กลุ่มงานวิจัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนและจัดการทรัพยากรเกษตร กลุ่ม งานวิจัยระบบเกษตรยั่งยืน และกลุ่มงานวิจัยธุรกิจเกษตรของชุมชน

1. เสริมสร้างรากฐานการวิจัยเชิงระบบให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

  • จัดทำแผนแม่บทการวิจัย
  • ชักจูงให้คณาจารย์มีส่วนร่วมในโครงการวิจัยแม่บท
  • ประเมินทิศทางและประสิทธิภาพงานวิจัย
  • สนับสนุนให้มีการจัดประชุมวิชาการด้านระบบเกษตรเป็นประจำ
  • พัฒนาผลลัพธ์ของงานวิจัยให้อยู่ในรูปของการเสนอแนวทางการแก้ปัญหา ข้อมูลและ ข่าวสาร
  • พัฒนาโครงการแม่บทขนาดใหญ่และสร้างบรรยากาศทางวิชาการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้นัก วิจัยมาร่วมมือกันทำงานวิจัยมากขึ้น
  • ผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีมาตรการสนับสนุนงานวิจัยสหสาขาวิชา
  • ขยายฐานงานทดลองของสถานีวิจัยและเน้นการทำงานในลักษณะผสมผสานเพื่อให้เกิดผล ระยะยาว
  • เริ่มงานวิจัยระบบเกษตรเชิงเปรียบเทียบเพื่อสร้างเครือข่ายในกลุ่มประเทศระดับภูมิภาค
  • สร้างกลไกแสวงหาแหล่งทุนวิจัยจากภายในประเทศและต่างประเทศ

2. ขยายผลการใช้แนวทางการวิจัยเชิงระบบสู่การพัฒนาการเกษตรและการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาต

  • ขยายกรอบงานวิจัยและสร้างโครงการวิจัยเชิงสหวิทยาการที่มีประเด็นปัญหาเหนือระดับ ฟาร์ม
  • พัฒนาผลลัพธ์ของงานวิจัยให้อยู่ในรูปของการเสนอแนวทางการแก้ปัญหา ข้อมูลและ ข่าวสาร

3. ดำเนินการวิจัยเพื่อไปสู่ศูนย์แห่งความเป็นเลิศในด้านการพัฒนาระบบเกษตรแบบยั่งยืน : ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนและพัฒนาทางเกษตร และการบริหาร และการจัดการธุรกิจเกษตรเพื่อชุมชน

ระบบเกษตรแบบยั่งยืน

  • ดำเนินงานทดลองระยะยาวเพื่อศึกษาผลของการเขตกรรมต่อระบบเกษตรยั่งยืนโดยใช้ ประโยชน์จากวิธีการระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
  • พัฒนาวิธีการจัดการธาตุอาหารแบบผสมผสานเพื่อรักษาผลิตภาพของระบบพืช
  • ใช้แนวทางเชิงระบบเพื่อศึกษารูปแบบเกษตรผสมผสานที่เหมาะสมตามแนวทาง “ทฤษฏี ใหม่”
  • พัฒนาและประเมินรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและการผลิตแบบผสมผสาน รวมทั้งการจัด การธุรกิจเกษตรเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนในเขตเกษตรนิเวศน์ต่าง ๆ ใน ที่ลุ่ม ที่ดอนอาศัยน้ำฝน และที่สูง
  • พัฒนารูปแบบเกษตรชานเมืองโดยเน้นการผลิตพืชผักปลอดสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการ ทำธุรกิจที่ดำเนินการโดยองค์กรชุมชน
  • พัฒนาทางเลือกสำหรับระบบเกษตรแบบแผ้วถางและเผาบนพื้นที่สูง
  • ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดสรรการใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อ พัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน
  • ดำเนินการวิจัยเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายการพัฒนาเกษตรยั่งยืนและการฟื้นฟู เศรษฐกิจชนบท

    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนและพัฒนาทางเกษตร

  • พัฒนาวิธีการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์ (GIS) การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) และเครื่องวัด พิกัดจากสัญญาณดาวเทียม (GPS) เพื่อรองรับงานวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรที่ดิน น้ำ และการพัฒนาการเกษตรระดับจังหวัด
  • พัฒนาวิธีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลเชิงพื้นที่ แบบจำลองพืช (Crop Model) และวิธีการ วิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ เพื่อสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตรที่สนับสนุน การพัฒนาธุรกิจเกษตรและระบบเกษตรแบบยั่งยืน
  • พัฒนาและทดสอบแบบจำลองพืชเศรษฐกิจของภาคเหนือ เช่น ข้าว อ้อย ถั่วเหลือง เป็นต้น
  • พัฒนาและทดสอบแบบจำลองระบบการเกษตรในระดับฟาร์มและลุ่มน้ำ
  • พัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยเฉพาะด้านและงาน พัฒนาระบบสารสนเทศทางเกษตร
  • ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางเกษตรในโครงการวางแผนการเกษตรและการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติระดับจังหวัดหรือลุ่มน้ำ

    บริหารและการจัดการธุรกิจเกษตรเพื่อชุมชน

  • พัฒนาแบบจำลองและวิธีการธุรกิจชุมชนเชิงระบบ
  • พัฒนาระบบการจัดเก็บและการจัดการข้อมูลธุรกิจเกษตรภายในองค์กร
  • พัฒนาวิธีการเชื่อมโยงของข้อมูลธุรกิจเกษตรจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
  • สร้างและประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนางานธุรกิจเกษตร
  • พัฒนาและรวบรวมกรณีศึกษาธุรกิจเกษตรโดยเน้นธุรกิจชุมชน
  • ศึกษากระบวนการพัฒนาธุรกิจเกษตรขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมทั้งธุรกิจที่ดำเนินการ โดยองค์กรเอกชน

4. พัฒนาและดำเนินงานวิจัยเชิงสหวิทยาการเป็นโครงการใหญ่ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนและ การพัฒนาเกษตรในระดับจังหวัดภาคเหนือ

  • จัดทำโครงการวิจัย/ ปฏิบัติงานเสนอต่อหน่วยราชการเพื่อการวางแผนการพัฒนาการ เกษตรที่ยั่งยืนในระดับจังหวัดโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่ศูนย์วิจัยมีอยู่
กลับสู่หน้าหลัก
หน้าที่ผ่านมา
หน้าต่อไป